เด็กเกิดใหม่

เด็กเกิดใหม่ น้อยลงสะเทือนต่อการก้าวสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์

การเปิดสถิติ เด็กเกิดใหม่ ที่ลดต่ำเป็นประวัติการณ์ ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ยิ่งทำให้ปัญหาจากสังคมผู้สูงอายุรุนแรงขึ้น เนื่องจากในอนาคตประเทศไทยอาจขาดแคลนแรงงาน และทำให้การดูแลผู้สูงอายุทั้งในระดับประเทศและในระดับครอบครัวเป็นไปได้ยากขึ้น

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า เนื่องในวันที่ 11 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันประชากรโลก (World Population Day) ซึ่งคณะมนตรีประศาสน์การของสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาได้กำหนดขึ้น ตั้งแต่ปี 2532 เพื่อให้ทั่วโลกได้ตระหนักถึงประเด็นปัญหาของประชากรโลก ซึ่งในปี 2566 ประเทศไทยประสบกับปัญหาจำนวน เด็กเกิดใหม่ ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง จากเดิมในปี 2506-2526 มีเด็กเกิดใหม่ไม่ต่ำกว่าปีละ 1 ล้านคน ลดลงเหลือ 502,107 คน ในปี 2565 และอาจจะต่ำกว่า 500,000 คน ในปี 2566 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ เวียดนาม เกาหลีใต้ และอีกกว่า 120 ประเทศ ขณะที่จำนวนการเกิดลดลงจำนวนผู้สูงอายุก็เพิ่มขึ้น โดยในปี 2564 ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์ คือ มีประชากรที่อายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20 และในปี 2579 จะเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด คือ มีประชากรที่อายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 30 ทำให้ในปี 2566 เป็นปีแรกที่จำนวนประชากรเข้าสู่วัยแรงงาน อายุ 20-24 ปี ไม่สามารถชดเชยจำนวนประชากรที่ออกจากวัยแรงงาน อายุ 60-64 ปีได้

“จากประเด็นปัญหาดังกล่าว กรมอนามัย จึงได้ร่วมกับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 ฯ ซึ่งผ่านมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2559 มาอย่างต่อเนื่อง แต่พบว่า จำนวนการเกิดยังไม่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นได้ ในระยะครึ่งแผนหลัง กรมอนามัย และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจึงได้เสนอมาตรการทางเลือกในการแก้ไขปัญหา อาทิ การส่งเสริมการจัดตั้งสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยอายุต่ำกว่า 2 ปี การเพิ่มสิทธิการลาในการเลี้ยงดูบุตรของพ่อแม่ มาตรการ work from home การยืดหยุ่นเวลางาน การลาคลอดได้ 6 เดือนโดยได้รับค่าจ้าง สิทธิการรักษาและสิทธิการลาเพื่อรักษาภาวะมีบุตรยาก การใช้ AI เข้ามาทดแทนการใช้มนุษย์ในสาขาที่มีความขาดแคลน การเลื่อนการเกษียณอายุให้สูงขึ้น การส่งเสริมการออมสำหรับการเกษียณ และการส่งเสริมการสร้างอาชีพรอง เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

ทางด้าน ดร.นพ.บุญฤทธิ์ สุขรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กล่าวเสริมว่า การเพิ่มจำนวน การเกิดนี้ อาจต้องมองในหลายมิติเพิ่มเติม เนื่องจากการเพิ่มจำนวนการเกิดจากผู้ที่มีความพร้อมหรือจากคนไทยเพียงอย่างเดียว อาจไม่ทันต่อการรับมือกับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งจะกระทบต่อ GDP และความมั่นคงของประเทศในภาพรวม การให้ความสำคัญกับทุกการเกิดในประเทศ หรือการนำเข้าแรงงานที่มีศักยภาพสูงอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่รับมือกับปัญหาได้เร็วกว่า และไม่ว่าจะเลือกมาตรการใดเป็นมาตรการหลัก “รัฐบาล” ควรเป็นผู้ลงทุน เพื่อให้เกิดความครอบคลุม เท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยที่ผ่านมา กรมอนามัย ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ชีวิตคู่และการมีบุตร เพื่อพัฒนาศักยภาพคนโสดรุ่นใหม่ ให้มีทัศนคติเชิงบวกต่อการใช้ชีวิตคู่และการมีบุตร ตลอดจนร่วมกันจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ตรงกับความต้องการของประชาชน โดยข้อเสนอดังกล่าวได้นำมากำหนดเป็นมาตรการทางเลือกให้กับรัฐบาลต่อไป

หนึ่งในประเด็นร้อนต้นปี 2565 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับการที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ คือ การเปิดสถิติเด็กเกิดใหม่ที่ลดต่ำเป็นประวัติการณ์

โดย ธันยวัต สมใจทวีพร นักนวัตกรรมเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ที่เผยแพร่ภาพกราฟจำนวนประชากรเกิดในประเทศไทยระหว่างปี 2536-2564 ที่มีลักษณะดิ่งลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปี 2564 มีเด็กเกิดใหม่เพียงแค่ 544,570 คนเท่านั้น ถือเป็นสถิติต่ำสุดในประวัติศาสตร์⁣

นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เพราะหลังจากนั้นไม่กี่วัน ประเด็นนี้กลายเป็นไวรัลที่สื่อหลายสำนักพยายามนำเสนอ และมีข้อมูลสถานการณ์ในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกที่กำลังประสบปัญหาเช่นเดียวกัน อย่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

แนวโน้มเช่นนี้ รศ.ธีระ สินเดชารักษ์ อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า เกิดผลกระทบอย่างน้อย 3 ด้าน คือ

1) จำนวนประชากรลดลง ทำให้สิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานกับประชากรจำนวนมาก เช่น สถานศึกษา ภาคอุตสาหกรรม จะเริ่มอยู่ในภาวะสูญเปล่า

2) ครอบครัวเดี่ยวเพิ่มมากขึ้น ผู้คนต้องการชีวิตโสดมากขึ้น

3) สังคมจะเปลี่ยนไปในแง่ที่ หากไม่เกิดการรวมกลุ่มใช้ชีวิตทางสังคมร่วมกันมากขึ้นในรูปแบบการปฏิสัมพันธ์กันบนโลกเสมือนแทนกันมากยิ่งขึ้น สังคมของคนเราจะถูกผลักให้ออกห่างจากกันมากขึ้น

นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดปัญหาระยะยาว เช่น การขาดแคลนแรงงาน การเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ ปัญหาความมั่นคง ขาดทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนาประเทศ ปัญหาทางเศรษฐกิจ ฯลฯ

ทำไมตัวเลขเด็กเกิดใหม่ จึงส่งผลสะเทือนต่อการก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ นั่นเป็นเพราะว่าครั้งหนึ่ง ประเทศไทยเคยมีความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรครั้งใหญ่มาแล้วเช่นกัน แต่ครั้งนั้นคือการมี “เด็กเกิดใหม่” มากที่สุดนับล้านคน และเด็กคนแรกที่เกิดเมื่อปี 2506 จะกลายเป็นผู้สูงอายุในปี 2566 พร้อมกับคลื่นสึนามิประชากรสูงวัยที่จะมีผลต่อเนื่องไปอีกนาน

สังคมสูงวัย

รายงานเรื่อง “From cubs to ageing tigers: Why countries in Southeast Asia need to think about fertility rates before it’s too late” ของ The Economist Intelligence Unit ได้สรุปถึง 7 เหตุผลที่ทำให้ประเทศไทย รวมถึงอีกหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอัตราการเกิดน้อยลง ดังนี้

1. การส่งเสริมการคุมกำเนิดอย่างแพร่หลายในอดีต: ในช่วงปี พ.ศ. 2513-2539 ประเทศไทยมีนโยบายส่งเสริมการคุมกำเนิดอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะการคุมกำเนิดในครอบครัวขนาดเล็ก ซึ่งนโยบายในช่วงเวลาดังกล่าวทำให้อัตราการเกิดในประเทศไทยลดลงอย่างมาก

และแม้ว่าหลังจากช่วงดังกล่าว อัตราเกิดในประเทศไทยก็ยังลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในปี 2560 หญิงไทยหนึ่งคนเฉลี่ยมีลูกเพียง 1.58 คนเท่านั้น หรือพูดอีกอย่างก็คือ ครอบครัวสามีภรรยา 1 คู่ (2 คน) มีลูกเฉลี่ยเพียง 1.58 คน ซึ่งหมายความว่าในอนาคตมีแนวโน้มที่ประชากรในประเทศไทยจะลดลง

2. ชาวต่างจังหวัดย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองที่ค่าครองชีพสูง:เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ทำให้ผู้หญิงต้องทำงานนอกบ้านมากขึ้นเพื่อหารายได้ แทนที่จะเป็นแม่บ้านเหมือนเช่นในอดีต บทบาทของการเป็นแม่และการเป็นแรงงานในตลาดแรงงานที่ไปด้วยกันด้วยยากนี้เอง ที่ทำให้ผู้หญิงจำนวนมากตัดสินใจไม่มีลูกหรือมีลูกน้อยลง

3. ที่อยู่อาศัยในเมืองราคาแพงขึ้นจนแทบซื้อไม่ได้: เมื่อเมืองอย่างกรุงเทพฯ และหัวเมืองต่างจังหวัดทั้งหลายขยายตัว ราคาบ้านในจังหวัดเหล่านั้นก็แพงขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้ผู้ที่ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในจังหวัดเหล่านี้หาที่อยู่อาศัยที่ใหญ่พอสำหรับการสร้างครอบครัวได้ลำบาก อาจต้องเช่าห้องหรือบ้านเช่าขนาดเล็กอยู่ ทั้งหมดนี้ทำให้การมีลูกเพิ่มหรือพาลูกมาอยู่ในเมืองด้วยเป็นเรื่องลำบากมากขึ้น สถานการณ์ดังกล่าวนี้ยังเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เราเห็นครอบครัวในต่างจังหวัดจำนวนมากเป็นครอบครัวแหว่งกลาง นั่นคือมีเพียงปู่ย่าตายายอยู่กับหลาน ส่วนพ่อแม่ย้ายไปทำงานในพื้นที่อื่นที่เจริญกว่า

4. ผู้หญิงมีการศึกษาดีขึ้น จึงมุ่งทำงานหารายได้มากขึ้น และจำนวนมากก็ตัดสินใจที่จะเลื่อนการแต่งงานและการมีลูกออกไป

5. พ่อแม่ยุคใหม่เน้นการมีลูกน้อยลง แต่เลี้ยงให้ดีขึ้นแทน: ปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงบุตร 1 คนสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษา ซึ่งแม้ว่ารัฐบาลไทยจะมีนโยบายเรียนฟรี แต่ที่นั่งในโรงเรียนรัฐคุณภาพก็มีจำกัด และการส่งลูกเรียนในโรงเรียนเอกชนก็มีค่าใช้จ่ายสูง ด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นเหล่านี้ ทำให้หลายครอบครัวเลือกที่จะมีลูกน้อยคนลง เพื่อให้สามารถดูแลลูกที่มีได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น

6. ความไม่เข้าใจว่ายิ่งอายุมาก ยิ่งมีลูกยาก: รายงานของ EIC ระบุว่า การตระหนักรู้เกี่ยวกับความสามารถในการมีลูกที่ลดลงพร้อมกับอายุที่มากขึ้นนั้นต่ำมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รายงานดังกล่าวระบุว่าความสามารถในการมีลูกของผู้หญิงลดลงเรื่อยๆ พร้อมอายุที่เพิ่มขึ้น โดยจะยิ่งลดลงเมื่ออายุถึง 32 ปี และเมื่อผู้หญิงอายุเกิน 37 ปี ความสามารถในการมีลูกจะยิ่งลดลงเร็วขึ้นไปอีก

7. ภาวะมีบุตรยากที่เพิ่มขึ้นทั้งชายและหญิง: มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ทั้งชายและหญิงในยุคนี้มีบุตรยากขึ้น โดยเกิดจากทั้งไลฟ์สไตล์ สิ่งแวดล้อม การกินอาหารที่ไม่ดี การสูบบุหรี่ และอายุที่เพิ่มขึ้น

แหล่งที่มา

https://theactive.net/data/aged-society/

https://www.chiangmainews.co.th/social/

https://workpointtoday.com/

บทความข่าวสารอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ marshatrattner.com

แทงบอล

Releated